วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เหงือกปลาหมอ



เหงือกปลาหมอ



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Vahl

ชื่อพ้อง : Acanthus ilicifolius L.

ชื่อสามัญ : Sea holly

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : แก้มหมอ แก้มหมอเล จะเกร็ง นางเกร็ง อีเกร็ง เหงือกปลาหมอน้ำเงิน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีหนาม ใบหนามแข็งมีขอบเว้าและมีหนามแหลม ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ดอกออกเป็นช่อตามยอด กลีบดอกสีขาวอมม่วง มี 4 กลีบแยกจากกัน ผลเป็นฝักสีน้ำตาล มี 4 เมล็ด ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ
ส่วนที่ใช้ : ต้น และใบ ทั้งสดและแห้ง ราก เมล็ด

สรรพคุณ :
ต้นทั้งสดและแห้ง - แก้แผลพุพอง น้ำเหลืองเสีย เป็นฝีบ่อยๆ
ใบ
 - เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดต่าง ๆ รักษาโรคผิวหนัง ขับน้ำเหลืองเสีย
ราก 
- ขับเสมหะ บำรุงประสาท แก้ไอ แก้หืด
- รักษามุตกิดระดูขาว
เมล็ด
- ปิดพอกฝี
- ต้มดื่มแก้ไอ ขับพยาธิ ขับน้ำเหลืองเสีย

ไม่มีความคิดเห็น: