กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ
กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง
ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูง 1-2 เมตร เปลือกต้นเรียบ
ลำต้นและกิ่งสีม่วงแดง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบหยักเว้าลึก 3-5 แฉก แต่ละแฉกกว้าง 0.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 4-15 ซม. ดอก
ออกเดี่ยวตามซอกใบ มีริ้วประดับสีแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีแดงเข้ม อวบน้ำ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง
ตรงกลางดอกสีม่วงแดง เกสรเพศผู้จำนวนมาก ผล รูปไข่ สีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง
ติดทนขนาดใหญ่รองรับอยู่จนผลแก่ ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล ใบ ดอก ผล เมล็ด
สารเคมี :
สารเคมีที่สำคัญใน ดอก พบ Protocatechuic acid. hibiscetin, hibicin,
organic acid, malvin, gossypetin
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
1. เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด
และช่วยลดน้ำหนักด้วย
2. ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแรงแต่อย่างใด
3. น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
4. ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งแรงได้ดี
5. น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
6. ช่วยย่อยอาหาร
เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
7. เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
8. เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
เพราะมีกรดซีตริคอยู่
ใบ -
มีรสเปรี้ยว แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ
ขับเมือกมันในลำคอให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก -
แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด
กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล - ลดไขมันในเลือด แก้กระหายน้ำ
รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด - รสเมา
บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้
ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง
บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง
กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในสำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย
แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ
แล้วยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น