มังคุด
มังคุด
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Garcinia mangostana L.
ชื่อสามัญ
: Mangosteen
วงศ์ : Guttiferae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ต้น สูง 10 - 12 เมตร ทุกส่วนมียางสีเหลือง ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 6 - 11 ซม.
ยาว 15 - 25 ซม. เนื้อใบหนา และค่อนข้างเหนียว คล้ายหนัง
หลังใบสีเขียวเข้ม เป็นมัน ท้องใบสีอ่อน ดอกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ออกที่ซอกใบ
ใกล้ปลายกิ่ง สมบูรณ์เพศ หรือแยกเพศ กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกสีแดง
ฉ่ำน้ำ ผลเป็นผลสด ค่อนข้างกลม
ส่วนที่ใช้
: เปลือกผลแห้ง
สรรพคุณ
- ผลของการศึกษาฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระโดยวิธี
ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) ทำการเปรียบเทียบระหว่างน้ำผลไม้อื่นๆและมังคุด
พบว่า มังคุดมีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระมากกว่า แครอท ราสเบอรรี่ บลูเบอรรี่
ทับทิม
- ผลจากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารแซนโทน
จึงป้องกันการเกิดออกซิเดชันของ LDL ซึ่งเป็นคลอเลสเตอรอลตัวร้าย
จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอีกทั้งยังลดการทำลายเซลล์
อันเป็นผลจากปฏิกิริยาลูกโซ่ จึงช่วยลดความเสี่ยงและชะลอการแก่ได้ด้วย
- มีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่างๆรวมถึงการตายของเซลล์มะเร็งในการศึกษาระดับห้องปฏิบัติการ
เช่น เซลล์มะเร็งเต้านม, เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว, เซลล์มะเร็งตับ, กระเพาะอาหาร และเซลล์มะเร็งปอด
- มีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน
และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อวัณโรค, เชื้อ S. Enteritidis และเชื้อ HIV
- สามารถยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคภูมิแพ้
- สามารถยับยั้งการสังเคราะห์สารพลอสตาแกลนดินอีทู
ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดกระบวนการอักเสบต่างๆ เช่น การปวดอักเสบ กล้ามเนื้อและข้อ
- มีฤทธิ์ในการช่วยขยายตัวของหลอดเลือด
ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการลดความดันโลหิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น