ตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus Stapf.
ชื่อสามัญ : Lemon Grass, Lapine
วงศ์ : Poaceae (Gramineae)
ชื่ออื่น : จะไคร้ (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม
(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ห่อวอตะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงโต
(เขมร-ปราจีนบุรี) ตะไคร้แกง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชตระกูลหญ้า
ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร
มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ
ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย
ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
สารเคมี :
ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 % Citronellal,
Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ
Methylheptenol
ราก - มี อัลคาลอยด์ 0.3%
สรรพคุณ :
ทั้งต้น
1. รสฉุน
สุมขุม แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
2. แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
3. ทำให้เจริญอาหาร
แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
4. แก้ปวดข้อ
ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
5. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
ราก
1. แก้เสียดแน่น
แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
2. บำรุงไฟธาตุ
ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
3. รักษาเกลื้อน
แก้อาการขัดเบา
ใบสด -
มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
ต้น
- มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย
เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ
แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น